การใช้คอมพิวเตอร์ในการรักษาพยาบาลทั่วไป


   การใช้คอมพิวเตอร์ในการรักษาพยาบาลทั่วไป 

          หมายถึง การติดตามรักษาพยาบาลประชาชนทั่วไป ทุกโรค ทุกระดับอายุ วัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อจะตรวจให้พบว่า คนไข้เป็นโรคอะไรหรือไม่ ถ้าเป็น ก็ควรจะพบตั้งแต่เริ่มเป็น จะได้รักษา และติดตามการรักษาให้อาการทุเลาลง หรือหายขาดจากโรคนั้นๆ ได้ การรักษาพยาบาลทั่วไปนี้ หมายรวมถึง การจัดมาตรการป้องกัน เช่น ปลูกฝี ฉีดยา ป้องกันไม่ให้คนไข้เป็นโรคต่างๆ ที่มีทางป้องกันได้

งานต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยทำได้ในการรักษาพยาบาลทั่วไป ดังกล่าวข้างต้น อาจจะแบ่งได้ดังนี้

งานทะเบียนและประวัติคนไข้ 

การทำงานนี้หาก ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ มักจะใช้บัตรกระดาษบันทึกชื่อ ที่อยู่ อายุ และเลขประจำตัวของคนไข้แต่ละคน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลานานในการหาบัตร จึงมักจะแจ้งเป็นคนไข้ใหม่ การทำบัตรใหม่ใช้เวลาน้อยกว่า ไม่ต้องรอนาน เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับบัตรดังกล่าวนี้ จึงได้มีการ บันทึกข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ และเรียกหาจากคอมพิวเตอร์ โดยผ่านจอโทรทัศน์ ต่อจากนั้น อาจสั่งให้คอมพิวเตอร์จัดทำรายงานโดย
๑) เรียงตามเลขประจำตัวคนไข้ 
๒) เรียงตามตัวอักษรของชื่อ 
๓) จัดกลุ่มตามอายุ เช่น ผู้หญิงอายุ ๓๕-๖๔ ปี สำหรับคนไข้ที่ควรจะตรวจภายในเป็นระยะๆ เป็นต้น 
๔) จัดกลุ่มตามเขตของที่อยู่ 
๕) จัดกลุ่มตามปีที่เริ่มมาเป็นคนไข้ของโรงพยาบาล หรือสำนักแพทย์ 
๖) จัดกลุ่มตามเพศ แต่งงานแล้วหรือโสด 



งานปลูกฝีและฉีดวัคซีน 

            การใช้คอมพิวเตอร์ใน งานนี้จะช่วยให้ประชาชนได้รับการปลูกฝีฉีดวัคซีนป้องกัน อย่างถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น โดยการบันทึกทะเบียนการ เกิดของเด็กทุกคนที่เกิดในเขตต่างๆ และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ ด้วยการเปลี่ยนแปลงรายการ อันเนื่องมาจากการตาย การย้ายที่อยู่ เป็นต้น ต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเขตสามารถใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์รายงานให้ทุกเดือนว่า มีเด็กอายุครบกำหนดจะต้องปลูกฝี ฉีดวัคซีน ชนิดใดในแต่ละเดือน พร้อมทั้งพิมพ์ใบเตือนเพื่อส่งไปให้ถึง บ้าน ในใบเตือนนั้นอาจจะระบุด้วยว่าให้ผู้ปกครองนำเด็กไป ปลูกฝี ฉีดวัคซีนที่ใด วันเวลาใด พร้อมกันนั้นคอมพิว- เตอร์ก็จะพิมพ์รายการนัด (appointment list) ส่งไปให้แพทย์ หรือพยาบาล ผู้มีหน้าที่ฉีดยาปลูกฝีว่า คอมพิวเตอร์ได้นัดบุคคลใดให้มาพบเมื่อใด เพื่อรับบริการอะไร เมื่อเด็กมาพบและ รับบริการแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ส่งรายการกลับไปให้คอมพิวเตอร์ บันทึกไว้ สำหรับเด็กที่ไม่มาพบตามนัด คอมพิวเตอร์ก็จะ จัดพิมพ์ใบเตือน ๓-๔ ครั้ง ถ้ายังไม่มาพบอีก ก็อาจส่ง รายการให้เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ เพื่อดำเนินการต่อไป 

งานทะเบียนการเป็นโรค 

         แพทย์แต่ละคนอาจจะ ตรวจรักษาคนไข้ในแต่ละเดือนนับเป็นพันๆ ราย แต่ละราย มีข้อมูลให้บันทึกหลายรายการ เช่น มีอาการอย่างไร เป็น มานานเท่าใด ผลการตรวจเป็นอย่างไร ผลการทดลองเป็น อย่างไร ให้ยาอะไร และได้ผลอย่างไร เป็นต้น ใน อังกฤษได้มีโครงการเก็บข้อมูลเหล่านี้ โดยให้คอมพิวเตอร์ พิมพ์เลขประจำตัวคนไข้ วันที่คนไข้นัดจะมาพบ และแพทย์ ขีดเลือกคำตอบในแบบฟอร์มสำหรับแพทย์ หรือพยาบาลทำ เครื่องหมายบ่งผลการตรวจวินิจฉัยโรคและวิธีการรักษา โดยใช้เวลากรอกแบบฟอร์ม ประมาณ ๑๐ วินาทีต่อคนไข้หนึ่งคน นำแบบฟอร์มนี้ส่งเข้าคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงานต่างๆ ซึ่ง ได้แก่
- รายงานแยกประเภทตามชนิดของโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ กามโรค ฯลฯ ว่าเขตใดมีคนไข้เป็นโรคอะไรมาก และตรงกับระยะเวลาใดของปี เช่น ในหน้าฝนมีคน เป็นไข้หวัดกันมาก เป็นต้น
- รายงานความถี่ของการพบแพทย์ เพื่อจะได้ทราบว่ามี คนไข้กลุ่มใดพบแพทย์มากเป็นพิเศษหรือไม่ 
- รายงานเมื่อเกิดโรคระบาด เพื่อจะได้ทราบว่าควรจะเรียกคนไข้กลุ่มใดมาฉีดยาป้องกันหรือไม่ เช่น เมื่อโรคหัดเยอรมันระบาด ก็ให้คอมพิวเตอร์พิมพ์ใบเตือนส่งไปให้สตรี มีครรภ์ทุกคนมาตรวจ และหรือฉีดวัคซีนป้องกัน เป็นต้น 
- รายงานว่าคนไข้กลุ่มใดได้รับการปลูกฝี ฉีดวัคซีน และตรวจร่างกายทั่วไปล่าช้าเกินไป ต้องเตือนให้มาพบแพทย์ 

งานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงาน 

         ในการจัดเวลาปฏิบัติ งานของโรงพยาบาลและคลินิกบางแห่ง บางวันอาจมีปัญหา ที่แพทย์บางคนมีคนไข้มาก จนไม่มีเวลาให้กับคนไข้แต่ละคนมากเท่าที่คนไข้ต้องการ และบางวันแพทย์บางคนก็ไม่มีคนไข้ การนำข้อมูลต่างๆ เช่น ทะเบียนคนไข้ ทะเบียนอาการ เป็นโรค สถิติต่างๆ และรายการนัดพบแพทย์ เป็นต้น ส่งเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ช่วยจัดรายการล่วงหน้าว่า วันใด แพทย์คนไหนควรจะมาพบคนไข้จากเวลาเท่าใดถึงเท่าใด ถ้าแพทย์คนใดจะหยุดพักผ่อนประจำปี ก็ให้คอมพิวเตอร์เสนอ แนะว่าจะให้แพทย์คนใดดูแลคนไข้คนใดแทน หรือให้เลื่อนนัดคนไข้ที่ไม่เร่งด่วนอย่างไร



อ้างอิง
https://bit.ly/2XHoyko

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการแพทย์