การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบริหารการแพทย์

การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบริหารการแพทย์


          อาจจะใช้ได้ตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงระดับโรงพยาบาล ในระดับชาตินั้น ก็มีตัวอย่าง เช่น การบริการสาธารณสุข แห่งสหราชอาณาจักร  และคณะกรรมาธิการกิจกรรม และบุคลากรโรงพยาบาล  

งานบริหารการแพทย์ในด้านการเก็บสถิติต่างๆ ควรใช้คอมพิวเตอร์ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ในระดับชาติ หรือระดับจังหวัดนั้น การนำข้อมูลเข้ารวมไว้ในคอมพิวเตอร์ อาจนำมาใช้ประโยชน์ ดังนี้

๑) หาสถิติระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติว่า ในด้านการเกิด การตาย การเป็นโรคต่างๆ นั้น มีแนวโน้มอย่างไร
๒) หาสถิติการใช้บริการด้านสาธารณสุข และความจำเป็นในการจัดบริการด้านสาธารณสุข เพื่อวางแผนจัดบริการด้านสาธารณสุข
๓) เก็บสถิติสำหรับวิเคราะห์โรคระบาด เช่น ถ้ามีไข้หวัดใหญ่ระบาด อหิวาต์ระบาด จะร้ายแรงมากน้อยเพียงใดอย่างไร
๔) เก็บสถิติในรูปแบบมาตรฐาน ให้แพทย์สามารถนำไปใช้ศึกษาวางแผนว่า จะให้บริการแก่คนไข้ของตนอย่างไร

นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารด้านการ แพทย์ในระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัดแล้ว ยังมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารระดับโรงพยาบาล หรือสำนักงานแพทย์ เช่น ในด้านบัญชีและการเงิน ในด้านเวชระเบียน ในด้านการกำหนดการใช้อุปกรณ์การแพทย์และสถิติ ต่างๆ เป็นต้น 

ในด้านบัญชีและการเงิน อาจจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วย วิเคราะห์รายได้ รายจ่ายของโรงพยาบาล จัดเรียกเก็บเงิน จากคนไข้ ทำบัญชีรายรับ ค้างรับ รายจ่าย ค้างจ่าย จัด พิมพ์เช็ค และจัดกำหนดการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ให้เงินกู้ เป็นต้น 

ตัวอย่างในด้านบัญชีที่ใช้กันมากก็คือ บัญชีเงินเดือน สำหรับจ่ายเงินให้แพทย์ พยาบาลและพนักงานต่างๆ ของ โรงพยาบาล ทำรายงานวิเคราะห์รายจ่ายด้านเงินเดือน และ เก็บสถิติต่างๆ เพื่อใช้ในการวางแผน 

โรงพยาบาลต่างๆ มักจะมีแผนกยา มียาชนิดต่างๆ มากกว่าสินค้าในร้านค้าหลายแห่ง ฉะนั้น จึงอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำบัญชียาคงคลัง บัญชีการสั่ง ซื้อยา บัญชีรับยาที่สั่งซื้อเข้ามา บัญชีจ่ายยาออก เมื่อยาประเภทใดถึงจุดที่ควรจะสั่งเพิ่ม ก็ให้คอมพิวเตอร์ช่วยทำรายงานเตือนให้ หรือไม่ก็ทำทะเบียนเสนอว่า ยาอะไรค้างอยู่ในคลังนานแล้ว จะหมดอายุแล้วหรือไม่มีใครใช้เลยในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมาถ้าจะเลิกเก็บไว้ เมื่อถึงคราวต้องใช้จะหาได้จากที่ใด เป็นต้น 

นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารก็ อาจเป็นไปในรูปแบบของการเก็บสถิติต่างๆ เช่น จำนวนเตียงที่ว่าง จำนวนเตียงที่มีคนไข้ จำนวนคนไข้ที่เข้าโรง พยาบาล จำนวนคนไข้ที่ออก จำนวนวันที่คนไข้พักอยู่ใน โรงพยาบาล จำนวนคนไข้ใหม่ จำนวนคนไข้ที่รอจะเข้า โรงพยาบาล สถิติคนไข้แบ่งตามเพศ ตามอายุ และตาม จำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาล จำนวนคนไข้แบ่งตามเหตุ ที่เข้าโรงพยาบาล เช่น ย้ายจากโรงพยาบาลอื่น ได้รับ บาดเจ็บโดยกะทันหัน อาหารเป็นพิษ และเข้ามาจากบัญชีรอ เป็นต้น 


อ้างอิง
https://bit.ly/2XHoyko

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการแพทย์